ให้บิดาหรือมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดนอกบ้านหรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเกิด ในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ตามกำหนดให้แจ้งภายหลังได้แต่ต้องไม่เกินสามสิบวัน นับแต่วันเกิด
– ผู้แจ้งยื่นเอกสารหลักฐานต่อนายทะเบียนท้องที่ที่เด็กเกิด
– นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานแล้วเปรียบเทียบคดีความผิดและสอบสวนผู้แจ้ง บิดามารดาให้ทราบสาเหตุที่ไม่แจ้งการเกิดภายในกำหนด
ในกรณีบิดาหรือมารดาไม่อาจมาให้ถ้อยคำในการสอบสวนได้ไม่ว่าจะด้วยกรณีใดนายทะเบียนจะบันทึกถึงสาเหตุดังกล่าวไว้
– นายทะเบียนนำเสนอนายอำเภอแห่งท้องที่พิจารณาอนุมัติ
ออกสูติบัตรและเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
เมื่อมีคนตายให้แจ้งการตาย โดยทันทีโดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
ให้เจ้าบ้านหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือพบศพ
ให้คนที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีการตายหรือพบศพหรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือพบศพ กรณีเช่นนี้จะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือ ตำรวจก็ได้กำหนดเวลา เมื่อพบผู้ตายให้ผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ โดยผู้อำนายการทะเบียนกลางอาจขยายเวลาออกไปตามที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินเจ็ดวัน นับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพหากไม่ปฎิบัติตามต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท
1. กรณีคนตายในบ้าน
– บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านหรือผู้แจ้งและผู้ตาย(ถ้ามี)
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่ผู้ตายมีชื่ออยู่
– หนังสือรับรองการตาย (ถ้าผู้ตายมีผู้รักษาพยาบาลโดยอาชีพ) กรณีที่นาย ทะเบียนสงสัยว่า อาจเป็นการตายด้วยโรคติดต่ออันตรายหรือตายโดยผิดธรรมดา อาจออกมรณบัตรไว้ก่อน จนกว่าจะได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายว่า ด้วยโรคติดต่อ อันตราย หรือเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ
2. กรณีตายนอกบ้าน
– บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบผู้ตายซึ่งเป็นผู้แจ้งตาย(ถ้ามี)
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3. กรณีตายที่โรงพยาบาล
– ต้องนำหนังสือรับรองการตายจากโรงพยาบาลไปแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งที่โรงพยาบาล
ตั้งอยู่เพื่อขอให้ออกใบมรณบัตร
– ต้องนำใบมรณบัตรพร้อมด้วยหลักฐานที่ต้องแสดงกรณีคนตายในบ้านหรือคนตายนอกบ้านไปแสดงต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งที่ผู้ตายมีภูมิลำเนาอยู่
นอกจากจะเตรียมหลักฐานที่ต้องไปแสดงแล้ว ผู้แจ้งจะต้องทราบและเตรียมข้อมูลเพื่อแจ้งการตาย ดังนี้
1. ชื่อตัว ชื่อสกุล สัญชาติ เพศของผู้ตาย
2. ตายเมื่อ วัน เดือน ปีใด
3. ที่อยู่ของผู้ตายและสถานที่ตาย บ้านเลขที่ หมู่ที่ ตรอก ซอย ถนน ตำบล/แขวงอำเภอ/เขต จังหวัด
4. สาเหตุที่ตาย
5. ชื่อตัว ชื่อสกุล และสัญชาติของบิดามารดาผู้ตาย
6. ศพของผู้ตายจะดำเนินการอย่างไร (เก็บ ฝัง เผา) ที่ไหน เมื่อไหร่ (ถ้ารู้)
***เมื่อมีการตายเกิดขึ้นจะต้องปฏิบัติตามกระบวนการแจ้งตาย ***หากฝ่าฝืนไม่แจ้งภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดอาจจะถูกปรับไม่เกิน 200 บาท
1. ผู้แจ้งยื่นเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียน เพื่อตรวจสอบและลงรายการในมรณบัตร
2. จำหน่ายชื่อผู้ตายออกจากทะเบียนบ้าน โดยจะประทับคำว่า “ตาย” สีแดง ไว้หน้ารายการคนตาย
3. มอบมรณบัตร ตอนที่ 1 สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนคืนผู้แจ้ง
+66 5394 1300
+66 5321 7143
ccarc@cmu.ac.th
+66 5394 1300
+66 5321 7143
ccarc@cmu.ac.th